วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การใช้กฎหมายอาญา


มาตรา 2 บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนด โทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมายถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับ โทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุด แล้วแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้(1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และ โทษที่ กำหนด ตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำ ความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่ บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง กำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้ (2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษ ตามกฎหมายการกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้ กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะ แห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็ง เห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้ กระทำในราชอาณาจักรในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร มาตรา 6 ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวล กฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็น ตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะ ได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้ กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร มาตรา 7 ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 107 ถึง มาตรา 129 (1/1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3 และ มาตรา 135/4 (2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 240 ถึง มาตรา 249 มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 และ มาตรา 266 (3) และ (4) (2ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 282 และ มาตรา 283 (3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 339 และ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 340 ซึ่งได้กระทำ ในทะเลหลวงหมายเหตุมาตรา 7(1/1) เพิ่มเติมโดยพรก.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. พ.ศ.2546มาตรา 7(2ทวิ) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึง มาตรา 223 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 220 วรรคแรก และ มาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึง มาตรา 232 มาตรา 237 และ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236 ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตาม มาตรา 238 (2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 (1) และ (2) มาตรา 268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 267 และ มาตรา 269 (2/1) ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/1 ถึง มาตรา 269/7 (3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 280 และ มาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับ มาตรา 276 (4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 ถึง มาตรา 290 (5) ความผิดต่อร่างกายตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 ถึง มาตรา 298 (6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 306 ถึง มาตรา 308 (7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 312 ถึง มาตรา 315 และ มาตรา 317 ถึง มาตรา 320 (8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336 (9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 337 ถึง มาตรา 340 (10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 341 ถึง มาตรา 344 มาตรา 346 และ มาตรา 347 (11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 352 ถึง มาตรา 354 (12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 357 (13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 358 ถึง มาตรา 360 (2/2) ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/8 ถึง มาตรา 269/15 หมายเหตุมาตรา 8 (2/1) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2547มาตรา 8 (2/2) เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2550 มาตรา 9 เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 147 ถึง มาตรา 166 และ มาตรา 200 ถึง มาตรา 205 นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา 10 ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา 8 และ มาตรา 9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้น ในราชอาณาจักร เพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัว ผู้นั้นหรือ(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้น ตามคำพิพากษา ของศาลในต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษ เลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำ ความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้า ผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่าง ประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่า ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลง โทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้วในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิด ที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อ ศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า(1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อย ตัวผู้นั้นหรือ(2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว มาตรา 12 วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะใช้บังคับแก่บุคคลใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ใช้บังคับได้เท่านั้น และกฎหมาย ที่จะใช้บังคับนั้นให้ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา มาตรา 13 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ได้มีการยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใด และถ้าผู้ใดถูกใช้บังคับ วิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นอยู่ ก็ให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อ ผู้นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอ มาตรา 14 ในกรณีที่มีผู้ถูกใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดอยู่ และได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นไปซึ่ง เป็นผลอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนำมาใช้บังคับ ได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของ กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้นั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาล ของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธี การเพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบัญญัติแห่งกฎหมาย นั้น แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร มาตรา 15 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษใดได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย และได้มี คำพิพากษาลงโทษนั้นแก่บุคคลใดไว้ ก็ให้ถือว่าโทษที่ลงนั้นเป็นวิธี การเพื่อความปลอดภัยด้วยในกรณีดังกล่าวในวรรคแรก ถ้ายังไม่ได้ลงโทษผู้นั้นหรือผู้นั้นยัง รับโทษอยู่ ก็ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไป และ ถ้าหากว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมีเงื่อนไข ที่สั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยอันไม่อาจนำมาใช้ บังคับแก่กรณีของผู้นั้น หรือนำมาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้ นั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกการใช้บังคับวิธีการ เพื่อความปลอดภัย หรือร้องขอรับผลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น แล้วแต่ กรณี ให้ศาลมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร มาตรา 16 เมื่อศาลได้พิพากษาให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้ใดแล้ว ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำเสนอของผู้นั้น เอง ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงาน อัยการว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอด ภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราว ตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา 17 บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ อาทิ
(๑) เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
(๒) เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
(๓) จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่า
(๔) ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อ การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
(๕) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน
และดำเนินการ ทุกขั้นตอน
(๖) จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
หากจะทำให้เข้าใจง่าย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน หรือ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และนำไปปฏิบัติ อาจเรียกว่า 3 ลักษณะ 2 เงื่อนไข ก็ได้ องค์ประกอบด้านลักษณะ ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการยึดตนอยู่บนทางสายกลางก็เป็นได้ • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการ เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น องค์ประกอบด้าน เงื่อนไข ความพอเพียงต้องอาศัย 2 เงื่อนไข ดังนี้ • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงกับ เกษตร ทฤษฎีใหม่ และ ประสานความมั่นคงเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ ทฤษฎีใหม่แบบพื้นฐานความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ทฤษฎีใหม่แบบก้าวหน้า ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

จากการยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางปฏิบัตินั้น คาดว่าผลที่จะได้รับจากการประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยีจะเห็นได้ว่าหากประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ยึดถือปรัชญานี้เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน มีสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ ประเทศไทยจะสงบสุข ร่มเย็นยืนหยัดอยู่ได้ด้วย ความสามารถ ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคนสุดท้ายนี้ผมขออัญเชิญ “พระบรมราโชวาท” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙ ความว่า“การที่จะประกอบกิจการใดๆ ให้เจริญเป็นผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย”เอกสารอ้างอิง : การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต,

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร





เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ






ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้



๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้



๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ



๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต